สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หน่วยงานสำคัญที่ดูแลความปลอดภัยของประเทศ

สำหรับคนที่ต้องการสอบเข้าเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ควรมาทำความรู้จักเกี่ยวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกันดีกว่า  

เป็นที่รู้กันว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Immigration Bureau) นั้นเป็นหนึ่งในหน่วยงานราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจตราและควบคุมทุกอย่างที่เข้ามาในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นพาหนะ หรือบุคคลทั้งในและนอกประเทศ ยังมีหน้าที่รักษาและป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศชาติในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้อาชีพข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ก็เป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้า และสวัสดิการที่ดี แถมยังมาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญและมีเกียรติยิ่งในการรักษาความมั่นคง ปกป้องภัยคุกคามของประเทศ  ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับ สตม. ที่เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจในสายอาชีพนี้เป็นอย่างมาก

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีความเป็นมาอย่างไร

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการตรวจตราบุคคลและพาหนะที่จะเข้ามาในประเทศ ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สตม.ได้ถูกก่อตั้งขึ้นก็เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นกับคนหรือประเทศไทยที่มาจากคนต่างด้าว รวมไปถึงสิ่งผิดกฎหมายจากนอกประเทศ  โดยประวัติความเป็นมาของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เริ่มดังนี้

  • ปี 2470 : กรมตรวจคนเข้าเมืองได้ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2470 สาเหตุจากมีคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย
  • ปี 2475 : มีการปฏิบัติทำให้เกิดการลดสถานะกลายเป็นแค่ กองตำรวจสังกัดกรมตำรวจ แต่ 3 ปีต่อได้จัดเพิ่มด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
  • ปี 2483 : หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับการปรับให้เป็นข้าราชการตำรวจแต่งแครื่องแบบพิเศษขึ้นกับรัฐบาล มีที่ทำการอยู่ที่สถานทูตเยอรมัน รับหน้าที่ทำกองตรวจคนเข้าเมือง
  • ปี 2503 : ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ปากซอยพิพัฒน์ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่ทำการของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร
  • ปี 2517 : ได้ย้ายที่ทำการมาที่ซอยสวนพลู หลังจากที่ได้รับการกำหนดหน้าที่การงานเป็น 5 กองกับการ 13 แผนกในปี 2508
  • ปี 2523 จนถึง ปี 2533 : ได้มีการปรับโครงสร้าง ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบต่าง ๆ
  • ปี 2536 : ได้ปรับปรุงโครงสร้างมาเป็นหน่วงานระดับกองบัญชาการ เรียกว่า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ที่ประกอบด้วย 4 กองบังคับการ 2 ศูนย์
  • ปี 2552 : ได้ปรับปรุงโครงสร้างอีกครั้งเป็น 8 กองบังคับการ 2 ศูนย์
  • ปี 2565 : ได้ย้ายสำนักงานไปที่เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

โครงสร้างสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง มีอะไรบ้าง

ตั้งแต่ปี 2536 จนถึง 2552 เดิมกองตรวจคนเข้าเมือง ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นหน่วยงานระดับกองบัญชาการ และถูกเรียกว่า “สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” โดยมีโครงสร้างเป็น 8 กองบังคับการ 

1.กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.สตม.)

ฝ่ายอำนวยการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

2.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (บก.ตม.1) 

ฝ่ายอำนวยการ, กองกำกับการ 1 2 3, กองกำกับการสืบสวน

3.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 (บก.ตม.2) 

ฝ่ายอำนวยการ, กองกำกับการสืบสวนปราบปราม, ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, เชียงใหม่, ภูเก็ต และหาดใหญ่

4.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 (บก.ตม.3) 

ฝ่ายอำนวยการ, ฝ่ายเทคโนโลยี, กองกำกับการบริการคนต่างด้าว, กองกำกับการสืบสวนสอบสวน, ตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือกรุงเทพฯ และ จังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก

5.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 4 (บก.ตม.4) 

ฝ่ายอำนวยการ, ฝ่ายเทคโนโลยี, กองกำกับการบริการคนต่างด้าว, กองกำกับการสืบสวนสอบสวน, ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภาคอีสาน

6.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 (บก.ตม.5) 

ฝ่ายอำนวยการ, ฝ่ายเทคโนโลยี, กองกำกับการบริการคนต่างด้าว, กองกำกับการสืบสวนสอบสวน, ตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน และจังหวัดภาคเหนือ

7.กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 (บก.ตม.6) 

ฝ่ายอำนวยการ, ฝ่ายเทคโนโลยี, กองกำกับการบริการคนต่างด้าว, กองกำกับการสืบสวนสอบสวน, ตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน และจังหวัดภาคใต้

8.กองบังคับการสืบสวนสอบสวน (บก.สส.สตม.)

  • ศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง (ศท.ตม.)
  • ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ศฝร.ตม.)

หน้าที่ของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง

หน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่น

  • คอยอำนวยด้านยุทธศาสตร์ในการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ แนะนำ และเสนอแนะการปฏิบัติให้สตม. และหน่วยงานในสังกัด
  • เป็นผู้ปฏิบัติ และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคนเข้าเมือง ปกป้องและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอาญา
  • ร่วมปฏิบัติงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้บริการประชาชนในการเดินทางข้ามแดน
  • ตรวจคนเข้าเมืองว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
  • การดำเนินคดีในกรณีที่มีการลักลอบขนของเถื่อนเข้าประเทศไทย
  • สายตรวจ คอยตรวจตราความสงบเรียบร้อย
  • รักษาความมั่นคงของประเทศ
  • รองรับการนโยบายเปิดประเทศ ในกลุ่มประชาคมอาเชียน ที่มีข้อตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับการเข้าออกอย่างอิสระ
ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หน้าที่

อยากเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เตรียมตัวยังไงดี

สำหรับคนที่อยากเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สิ่งแรกที่ต้องเตรียมตัวก็คือ การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้าเป็นข้าราชการตำรวจก่อน แต่ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะ สตม. ไม่ได้เปิดรับ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองทุกปี

การจะสมัครเข้าสอบแข่งขันเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมืองนั้นต้องถึงพร้อมคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นบุคคลภายนอก เพศหญิง/ชาย อายุอยู่ระหว่าง 18-35 ปี
  • เพศชายสูงไม่น้อยกว่า 160 ซม. ผู้หญิงสูงไม่น้อยกว่า 150 ซม.
  • มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคอ้วน ค่า BMI (ดัชนีมวลกาย) ไม่เกิน 35 , ไม่เป็นตาบอดสี
  • วุฒิการศึกษา อย่างต่ำ ม.6 / ปวช. / กศน. หรือเทียบเท่า
  • มีคะแนนที่วัดความรู้การใช้ภาษาต่างประเทศ ถ้าไม่มี สตม. จะจัดสอบให้

การสอบเข้าจะมีทั้งหมด 3 รอบด้วยกัน โดยต้องสอบให้ผ่านในแต่ละรอบก่อนจะได้เข้าไปสอบรอบถัดไป เช่น

รอบแรก :  เป็นการสอบภาษา

สำหรับผู้สมัครที่ไม่มีคะแนนด้านภาษา จะมีการจัดสอบให้โดยมีเกณฑ์คะแนนสอบผ่านคือ 60%หรือ ถ้ามีคะแนนภาษาที่ผ่านเกณฑ์แล้วก็ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องสอบรอบนี้ เช่น

  • ภาษาอังกฤษ มีคะแนน TOEIC 495 คะแนน หรือ TOEFL IBT 60 คะแนน หรือ CU-TEP 60 คะแนน  หรือ IELTS 4.5 คะแนน เป็นต้น
  • ภาษาจีน HSK (Hanyu Shuiping Kaoshi) ระดับ 3 (240 คะแนน) หรือ ระดับ 4-6 (180

     คะแนน)

  • ภาษาญี่ปุ่น หรือ ภาษาเกาหลี คะแนนที่ใช้ต้องไม่ต่ำกว่าระดับ 3

รอบสอง : เป็นการสอบวิชาการ วิชาที่ต้องรับการทดสอบมีทั้งหมด 150 ข้อ  เกณฑ์สอบผ่านคือ 60%

  • ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์) 15 ข้อ
  • ภาษาไทย 15 ข้อ
  • พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522  , กฎกระทรวง และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 50 ข้อ
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526  และที่แก้ไขเพิ่มเติม 15 ข้อ
  • สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 20 ข้อ
  • ภาษาอังกฤษ 15 ข้อ
  • พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบเกี่ยวกับจริยธรรม จรรยาบรรณของตำรวจ 10 ข้อ
  • คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสำนักงาน 10 ข้อ

รอบสาม : เป็นรอบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นการสอบถามเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น ประวัติ ความประพฤติ ทัศนคติ และก็มีการตรวจร่างกาย เกณฑ์การสอบ มีแค่ ผ่าน และ ไม่ผ่าน เท่านั้น

นอกเหนือจากการขยันอ่านหนังสือติวสอบเองแล้ว ก็แนะนำให้เข้ารับติวสอบตำรวจตรวจคนเข้าเมืองด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งชนะคู่แข่งขัน ราคาต่อคอร์สก็ถูก คุ้มค่าอย่างแน่นอน พร้อมมีแนวข้อสอบตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของปีก่อน ๆ พร้อมเฉลยให้ทดลองทำ และยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำตอบทุกข้อสงสัย มีสอนเทคนิคในการทำข้อสอบให้เสร็จทันเวลา

สรุป

สำหรับคนที่สนใจและมุ่งมั่นที่จะเข้าทำงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร แนะนำให้ติดต่อมาที่สถาบันติวสอบ GovEntrance ที่ให้ครบในที่เดียว มีแนวข้อสอบย้อนหลัง 10 ปี ให้เทคนิคและข้อควรรู้ในการทำข้อสอบเพื่อให้สอบติด โดยครู อาจารย์ พี่ ๆ ตำรวจ ที่มีประสบการณ์สูง

คนที่สนใจก็เข้ามาติดต่อได้ที่เบอร์โทร : 098-632-4454   หรือเข้ามาที่เว็บไซต์ https://www.goventpolice.com  เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับคอร์สติวสอบตำรวจทุก ๆ สายที่มีจัดสอนในราคาพิเศษ และยังสามารถเลือกเรียนเวลาที่สะดวก มีสอนสดและติวแนวข้อสอบสดวิชาละ 1 ครั้งทุกสัปดาห์

Top