ตำรวจสันติบาล

ทำความรู้จัก ประวัติที่มาและหน้าที่ของตำรวจสันติบาล

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อของตำรวจสันติบาลกันมาบ้าง แต่ยังไม่รู้ข้อมูลจริงๆ ว่าตำรวจสันติบาลคืออะไร มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง หากอยากสอบเป็นตำรวจสันติบาล ต้องเตรียมตัวอย่างไร บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับตำรวจสันติบาลให้มากขึ้นกัน

ความเป็นมาของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ “โดยมีพระราชประสงค์จะให้ราชการในกรมตำรวจภูธรดำเนินเจริญยิ่งขึ้น เป็นการสมควรที่จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ซึ่งรอบรู้ในวิชาการบางอย่างเป็นพิเศษขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์แก่การสืบสวนและปราบปรามผู้กระทำผิด” 

ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมหนึ่งขึ้นในกรมตำรวจภูธรชื่อ “กรมตำรวจภูบาล” มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้ารับผิดชอบ และให้กรมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภูธรด้วย ในการปฏิบัติราชการให้เจ้าหน้าที่ในกรมมีอำนาจตามกฎหมายเสมือนกัน และให้เจ้ากรมมีอำนาจในการออกหมายจับ หมายค้นบ้านเรือน หมายเรียกพยานได้ตามกฎหมาย ทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานคร

ต่อมา พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการ โดยมีสภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศด้วยคำแนะนำยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ให้เปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธร เป็น “กรมตำรวจ” และให้เป็นกรมชั้นอธิบดี มีรองอธิบดีเป็นผู้ช่วย และให้กรมตำรวจแบ่งกิจการออกเป็น 4 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 กองบังคับการ

ส่วนที่ 2 ตำรวจนครบาล

ส่วนที่ 3 ตำรวจภูธร

ส่วนที่ 4 ตำรวจสันติบาล มีหน้าที่เป็นกำลังช่วยเหลือตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร

และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจัดแบ่งแผนกงานรายย่อยออกไปตามสมควรแก่รูปการ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการราษฎรแล้ว “กองตำรวจสันติบาล” จึงได้เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “SPECIAL BRANCH” เป็น “กองตำรวจพิเศษ” ต่างจากตำรวจทั่วไป มีหน้าที่สืบสวนและหาข่าวสารทางการเมือง โดยมีรากฐานมาจาก “ตำรวจภูบาล”

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบงานภายในและโครงสร้างของตำรวจสันติบาลหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2552 ได้มีระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยให้กองบัญชาตำรวจสันติบาล แบ่งส่วนราชการเป็น 5 กองบังคับการ และ 1 กลุ่มงานดังเช่นหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดเช่นปัจจุบัน

หน่วยงานที่อยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.)

  • กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บก.อก.บช.ส.)
    • ผ่ายธุรการและกำลังพล
    • ฝ่ายยุทธศาสตร์
    • ฝ่ายส่งกำลังบำรุง
    • ฝ่ายงบประมาณและการเงิน
    • ฝ่ายกฎหมายและวินัย
    • ฝ่ายกิจการต่างประเทศ
    • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ฝ่ายตรวจสอบพฤติการณ์บุคคล
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 (บก.ส. 1)
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • กองกำกับการ 1
    • กองกำกับการ 2
    • กองกำกับการ 3
    • กองกำกับการ 4
    • กองกำกับการ 5
    • กองกำกับการ 6
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 2 (บก.ส. 2)
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • กองกำกับการ 1
    • กองกำกับการ 2
    • กองกำกับการ 3
    • กองกำกับการ 4
    • กองกำกับการ 5
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 (บก.ส. 3)
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • กองกำกับการ 1
    • กองกำกับการ 2
    • กองกำกับการ 3
    • กองกำกับการ 4
    • กองกำกับการ 5
    • กองกำกับการ 6
  • กองบังคับการตำรวจสันติบาล 4 (บก.ส. 4)
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • กลุ่มงานวิเคราะห์ข่าวความมั่นคงของสถาบัน
    • กลุ่มงานวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคม
    • กลุ่มงานวิเคราะห์ข่าวการเมือง
    • กลุ่มงานวิเคราะห์ข่าวก่อการร้ายสากล
    • กลุ่มงานวิเคราะห์ข่าวอาชญากรรมข้ามชาติ
    • กลุ่มงานประสานงานข่าวต่างประเทศ
  • ศูนย์พัฒนาด้านการข่าว (ศพข.บช.ส.)
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • ฝ่ายจัดการฝึกอบรม
    • ฝ่ายปกครองและกิจกรรม
    • ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

ตำรวจสันติบาลมีหน้าที่อะไร

แต่ละหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) ก็จะมีหน่วยงานแยกย่อยของแต่ละฝ่ายไปอีก  ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างกันไป โดยพันธกิจในการทำงานของตำรวจสันติบาล มีดังนี้

  • ถวายความปลอดภัยสำหรับพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคคลสำคัญ และสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ

  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานข่าวกรองบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินกรรมวิธีข่าวกรองให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานมาตรฐานการข่าว และงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านการข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  • ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศตามอำนาจหน้าที่

  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานสถานีวิทยุกระจายเสียงของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานมาตรฐานการข่าว และงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านการข่าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อยากเป็นตำรวจสันติบาล เตรียมตัวอย่างไร

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วมีความสนใจอยากเป็นตำรวจสันติบาล สามารถเริ่มต้นจากการสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) โดยจะการสอบข้อเขียน หากสอบผ่าน ก็จะมีการทดสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง และตรวจร่างกายต่อไป

วิชาที่ใช้ในการสอบข้อเขียน มีดังนี้

  • ความสามารถทั่วไป 
  • ภาษาไทย
  • ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
  • ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
  • สังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

ถ้าอยากเป็นตำรวจสันติบาลต้องมีความมุ่งมั่น แนะนำให้แบ่งเวลาอ่านหนังสือและทำข้อสอบย้อนหลัง เพราะความยาก-ง่ายของการสอบนั้น อาจขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของแต่ละคนด้วย ถ้าหากอ่านเองแล้วใครยังกังวล ก็สามารถติวเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจได้

สรุป

สุดท้ายนี้ ใครที่อยากสมัครสอบเป็นตำรวจสันติบาล ถ้ามีความมุ่งมั่นตั้งใจ ขอให้มั่นใจว่าจะต้องทำได้อย่างแน่นอน หรือถ้าหากใครที่ยังต้องการคำปรึกษา หรือสนใจติวสอบตำรวจสันติบาล ก็สามารถติดต่อเราที่เบอร์โทรศัพท์  098-632-4454 หรือติดตามอัปเดตข่าวสารต่างๆ ทางเฟซบุ๊ก GovEntrance Police ติวสอบตำรวจ ได้เลย

Top