ตำรวจมีกี่ประเภท มีหน่วยงานอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ตำรวจมีกี่ประเภท มีหน่วยงานอะไรบ้าง มาดูกันเลย

หลายคนมักถามว่า ตำรวจมีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง แล้วทำหน้าที่เหมือนกันไหม แต่ก่อนที่เราจะไปรู้กันว่า ตำรวจมีกี่ประเภท เราขอพาไปรู้จักกับประวัติของตำรวจไทยกันก่อน

ตำรวจไทยนั้นคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ที่อยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยตำรวจจะมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในราชอาณาจักรไทย และมีอำนาจสอบสวน จับกุม คุมขัง และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย

ตำรวจไทยเกิดขึ้นในสมัยของพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มีตำรวจและให้ขึ้นกับกรมเวียง มีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชาต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำรวจถูกเรียกว่า โปลิศ ซึ่งมาจากคำว่า Police โดยพระองค์ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง ร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ (Capt. Samuel Joseph Bird Ames) เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศในปี พ.ศ. 2403 ในการรักษาความสงบภายในประเทศ แทนที่ ข้าหลวงกองจับและกองตระเวนซ้ายขวา

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ข้าราชการตำรวจ)

ตำรวจประเภทแรกที่เราจะมาตอบว่า ตำรวจมีกี่ประเภท นั่นคือข้าราชการตำรวจ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2541 โดยเปลี่ยนมาจากกรมตำรวจ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย มาเป็นส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยไม่อยู่ในสังกัดกระทรวงใด ๆ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีสถานะเป็นตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้ทั่วราชอาณาจักรไทย

สำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นจะมีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้

1.รักษาความปลอดภัยให้ พระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

2.ควบคุมการทำงานของข้าราชการตำรวจ

3.ป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา

4.ดูแลความปลอดภัยของประชาชน และรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร

5.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ

การทำงานของข้าราชการตำรวจ

การทำงานของข้าราชการตำรวจ

ข้าราชการตำรวจมีกี่ประเภท สายงานของข้าราชการตำรวจแบ่งได้เป็น 6 สายงาน ได้แก่

1.งานป้องกันปราบปราม

ตำรวจปราบปราม พูดง่าย ๆ คือ สายตรวจ ออกตรวจตราบ้านเรือนประชาชนรอบพื้นที่ของตนตลอด 24 ชั่วโมง โดยหน้าที่หลัก ๆ คือ เข้าตรวจตราผู้ต้องสงสัย, ระงับเหตุร้าย, ควบคุมตรวจสอบที่เกิดเหตุ, เฝ้าดูและป้องกันปราบปรามตามจุดเสี่ยง และควบคุมตัวผู้ต้องขัง

2.งานสืบสวน

ตำรวจสืบสวน ตามปกติจะแต่งกายด้วยชุดนอกเครื่องแบบให้กลมกลืน มีหน้าที่คอยสืบหาตัวคนร้าย, แฝงตัวในชุมชนเพื่อสืบหาพยาน, ล่อซื้อ และจับคนร้าย 

3.งานสอบสวน

ตำรวจสอบสวนนั้นจะแม่นกฎหมายมากเพราะเขามีหน้าที่สอบปากคำพยานหรือคนร้าย แล้วต้องทำสำนวนคดีเพื่อส่งต่ออัยการให้เตรียมฟ้องผู้ต้องหาต่อไป นอกจากนี้ยังมีหน้าที่คอยคุ้มครองพยานอีกด้วย

4.งานจราจร

ตำรวจจราจร จะดูแลการจราจรเป็นหลัก เช่น ปรับเปลี่ยนระบบสัญญาณไฟจราจร, ควบคุมผู้ใช้รถใช้ถนน, จับกุมและออกใบสั่งต่อผู้กระทำผิดกฎจราจร และตั้งจุดตรวจจุดสกัด เป็นต้น

5.งานอำนวยการหรือธุรการ

ตำรวจอำนวยการ จะทำงานอยู่ในโรงพัก โดยทำด้านธุรการ เช่น งานเอกสาร, ระบบคอมพิวเตอร์ และงานสารบรรณ เป็นต้น

6.หน่วยปฏิบัติการพิเศษ

หรือเรียกง่าย ๆ ว่า หน่วยสวาท มีหน้าที่คอยป้องกันปราบปรามตอนเกิดเหตุร้ายที่ต้องได้รับการจัดการแบบพิเศษ ตำรวจกลุ่มนี้จะมียุทธวิธีขั้นสูงและมีการฝึกฝนมาอย่างเชี่ยวชาญ

หน่วยงานในสังกัด

ถ้าถามว่าตำรวจมีกี่หน่วยงาน บอกได้เลยว่าหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นจะแบ่งตามรูปแบบการปฏิบัติงาน โดยมีดังต่อไปนี้

1.ส่วนบังคับบัญชา

เป็นส่วนที่มีหน่วยงานในสังกัดมากที่สุด เช่น สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (สยศ.ตร.), สำนักงานกฎหมายและคดี (กมค.), กองการต่างประเทศ (ตท.) และกองบินตำรวจ (บ.ตร.)

2.ส่วนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

ประกอบด้วย กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และ ตำรวจภูธรภาค 1 ถึง 9 ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

3.ส่วนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

มีหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย กองบัญชาการตำรวจสายงานต่าง ๆ เช่น กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด รวมทั้ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) และสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สทส.)

4.ส่วนการศึกษา

มีหน่วยงานในสังกัดที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาในวิชาชีพตำรวจเป็นหลัก ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รร.นรต.) และ กองบัญชาการศึกษา (บช.ศ.)

5.ส่วนบริการ

มีหน่วยงานในสังกัดคือ โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.) และ กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (บช.ทท.)

6.หน่วยงานอื่น ๆ

ประกอบด้วย ศูนย์ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5, กองทุนเพื่อการสืบสวนและการสอบสวนคดีอาญา, ศูนย์บริการข้อมูลคนหายและศพนิรนาม, ศูนย์ปราบปรามคนร้ายข้ามชาติและเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย, สายด่วนรถหาย รวมถึง โรงพิมพ์ตำรวจ

ตำรวจรัฐสภา

ตำรวจประเภทที่สองจากคำถามที่ว่า ตำรวจมีกี่ประเภทก็คือ ตำรวจรัฐสภา

ตำรวจรัฐสภา หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา สังกัดอยู่สำนักรักษาความปลอดภัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยต่อบุคคลและทรัพย์สินต่าง ๆ ในรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภายในบริเวณของรัฐสภา แต่ไม่ใช่ข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตำรวจรัฐสภา เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2476 ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2476 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองปฏิคม ในแผนกรักษาสถานที่และตำรวจสภา ก่อนจะพัฒนามาเป็นตำรวจรัฐสภาในปัจจุบัน

การทำงานของตำรวจรัฐสภา

การทำงานของตำรวจรัฐสภา หน้าที่หลักคือ การรดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยในรัฐสภาทั้งบุคคลและสถานที่ โดยสามารถตรวจค้น สืบสวนสอบสวนได้ภายในพื้นที่ของรัฐสภา เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนระเบียบที่ส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยโดยรวมภายในรัฐสภาและสามารถเข้าห้องประชุมสภาได้เมื่อประธานรัฐสภาสั่ง เช่น เชิญตัว ส.ส. หรือ ส.ว. ออกจากห้อง เป็นต้น

นอกจากนี้ตำรวจรัฐสภา ยงหน้าที่ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการ, จัดการการจราจร, ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบริเวณรัฐสภา อีกด้วย

ตำแหน่งของตำรวจรัฐสภาแต่ละประเภท

ตำรวจรัฐสภานั้น ปัจจุบันใช้ระบบยศตามการกำหนดของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา โดยตำแหน่งของตำรวจรัฐสภาประกอบด้วย

1.ตำแหน่งประเภททั่วไป

ได้แก่ ระดับปฏิบัติงาน, ระดับชำนาญงาน และระดับอาวุโส

2.ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ได้แก่ ระดับปฏิบัติการ, ระดับชำนาญการ, ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ

ตำรวจศาล

ตำรวจศาล

ตำรวจประเภทสุดท้ายจากคำถามว่า ตำรวจมีกี่ประเภท ก็คือ ตำรวจศาล

ตำรวจศาล เป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ตำแหน่ง เจ้าพนักงานตำรวจศาล ภายใต้สังกัด ศูนย์รักษาความปลอดภัย ศาลยุติธรรม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 มาตรา 5 แต่ไม่ใช่ข้าราชการตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

เมื่อปี พ.ศ. 2557 นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้น พูดถึงระบบตำรวจศาลในต่างประเทศว่าควรนำมาปรับใช้ในประเทศไทยเพื่ออารักขาและรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรและตุลากร ต่อมา ในปี พ.ศ. 2562 โฆษกศาลยุติธรรมได้ระบุว่า ตำรวจศาลได้รับการเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติเรียบร้อย โดยเปิดรับเจ้าพนักงานตำรวจศาลรุ่นแรกจำนวน 35 นาย โดยในช่วงแรกจะเน้นการวางกำลังไปที่อาคารทำการของศาลยุติธรรม

การทำงานของตำรวจศาล

ตำรวจศาลมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย ข้าราชการฝ่ายตุลาการ รวมทั้งป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในศาล และควบคุมตัวผู้ต้องหานำส่งกรมราชทัณฑ์ และยังมีหน้าที่ติดตามจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีจากการปล่อยตัวชั่วคราว หรือขัดคำสั่งหมายเรียกและคำสั่งศาล ซึ่งจะปฏิบัติงานร่วมกับข้าราชการตำรวจ ในการดำเนินการจับกุมเพื่อเข้าสู่กระบวนการศาล

นอกจากนี้ ตำรวจศาลยังสามารถติดตามผู้ต้องหาหรือจำเลยได้จากกำไล EM ซึ่งคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจสอบและจำกัดการเดินทางของบุคคลในการปล่อยตัวชั่วคราว มีลักษณะคล้ายนาฬิกาหรือสายรัดข้อเท้าที่สามารถรายงานตำแหน่งได้ตลอดเวลา รวมถึงจะมีการแจ้งเตือนเมื่อมีการพยายามถอดหรือทำลายกำไล EM

โครงสร้างการทำงานของตำรวจศาล

ตำรวจศาล แบ่งโครงสร้างการทำงานได้เป็น 7 ส่วน คือ

1.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 1 จะรับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานครและของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 1

2.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 2 จะรับผิดชอบในพื้นรับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 2 และภาค 7

3.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 3 จะรับผิดชอบในพื้นรับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 3 และภาค 4

4.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 4 จะรับผิดชอบในพื้นรับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 5 และภาค 6

5.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 5 จะรับผิดชอบในพื้นรับของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมภาค 8 และภาค 9

6.ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจศาล 6 จะรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร

7.ส่วนฝึกอบรมเจ้าพนักงานตำรวจศาล

สำหรับใครที่ชอบถามว่า ตำรวจมีกี่ประเภท บทความนี้น่าจะตอบคำถามว่า ตำรวจมีกี่ประเภท ได้ครบถ้วน และถ้าหลากเจอใครถามว่า ตำรวจมีกี่ประเภท อีก แนะนำเขามาอ่านที่บทความ ตำรวจมีกี่ประเภท นี้ได้เลย

นอกจากนี้ ขอฝากช่องทางเพื่อติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการสอบตำรวจ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการสอบตำรวจ หรือ หากท่านใดมีความกังวลเกี่ยวกับการสอบตำรวจสามารถสอบถามโดยตรงได้ทาง Fanpage GovEntrance Police ติวสอบตำรวจ และทาง Line ได้เลย

Top