ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

นายสิบตำรวจสายพิสูจน์หลักฐาน มีหน้าที่อะไร อยากเป็นต้องทำอย่างไร

ใครหลาย ๆ คน คงมีความฝันอยากเป็นตำรวจ แน่นอนว่าอาชีพตำรวจมีสายงานที่น่าสนใจหลายสายงาน และตำรวจสายพิสูจน์หลักฐาน ก็เป็นสายงานหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว ใครที่อยากเป็นหรืออยากรู้ว่าตำรวจพิสูจน์หลักฐานมีหน้าที่อะไรบ้าง มีใครที่สามารถสอบเพื่อเป็นตำรวจสายพิสูจน์หลักฐานได้บ้าง เรามาดูข้อมูลแล้วเตรียมพร้อมไปด้วยกันเลย

ตำรวจพิสูจน์หลักฐานปั๊มลายนิ้วมือ

ตำรวจพิสูจน์หลักฐานมีภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หลักนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิสูจน์หลักฐานโดยตรงตามกระบวนการยุติธรรมอันมีส่วนช่วยในการรวบรวมพยานหลักฐานมาใช้ในการยืนยันพิสูจน์หาข้อเท็จจริงในภารกิจต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน อีกทั้งหน้าที่ของตำรวจพิสูจน์หลักฐานมีตั้งแต่การเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ตรวจลายนิ้วมือ ตรวจร่างกาย รวมทั้งตรวจสอบวัตถุพยานต่าง ๆ โดยกระบวนการชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี เป็นต้น

การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจพิสูจน์หลักฐานจะอยู่ภายใต้สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือประจำการที่กองบังคับการตำรวจนครบาลหรือตำรวจภูธรประจำภูมิภาค จังหวัดต่าง ๆ

หน้าที่ความรับผิดชอบของนายสิบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

หน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจพิสูจน์หลักฐาน มีดังนี้

  1. ดำเนินการเข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และพิสูจน์หลักฐาน
  2. ดำเนินการพิสูจน์หลักฐานต่าง ๆ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ทางเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา การตรวจเปรียบเทียบ การถ่ายรูป เพื่อช่วยพนักงานสืบสวนสอบสวนหรือหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการค้นหา ตรวจเก็บ ตรวจพิสูจน์หลักฐานต่าง ๆ
  3. จัดทำข้อมูลด้านการตรวจพิสูจน์ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
  5. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
สายงานตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

โดยหน้าที่ความรับผิดชอบจะแบ่งไปตามสายงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสายงานหลัก ๆ ของกองพิสูจน์หลักฐานตำรวจ มีดังนี้

  1. งานตรวจสถานที่เกิดเหตุ มีหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมวัตถุพยานในคดีต่าง ๆ รวมทั้งช่วยวิเคราะห์วัตถุพยาน ความเห็นเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้น แล้วจัดทำรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ส่งของกลางให้พนักงานสอบสวน รวมทั้งเก็บรักษาสำเนารายงานการตรวจพิสูจน์
  2. งานตรวจเอกสาร ตรวจพิสูจน์วัตถุพยานประเภทเอกสาร การปลอมแปลง เช่น ลายมือชื่อ เอกสารป้องกันการปลอมแปลง ร่องรอยขูดลบแก้ไข ต่อเติมบนเอกสาร ชนิดหมึก ตัวอักษรตัวพิมพ์ รอยประทับตราต่าง ๆ
  3. งานตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุน มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ตรวจเปรียบเทียบ ลูกกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ตรวจหารอยขูดลบแก้ไขเครื่องหมายทะเบียน เลขหมายประจำปืน ตรวจร่องรอยบนวัตถุที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ตรวจวิถีกระสุน อีกทั้งตรวจพิสูจน์เขม่าปืน
  4. งานตรวจทางเคมี ฟิสิกส์ มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์วัตถุพยานที่ต้องใช้หลักการทางเคมีและฟิสิกส์ เช่น ตรวจคราบสารเคมีว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิง สารระเบิด ร่องรอยขูดลบเลขหมายบนโลหะ ตรวจสอบเส้นใย กระจก หิน ดิน โลหะ สีตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้า ตรวจพิสูจน์ร่องรอยเฉี่ยวชน แล้วยังตรวจพิสูจน์การดัดแปลงแก้ไขมิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า
  5. งานตรวจยาเสพติด ทำหน้าที่ตรวจพิสูจน์ของกลางในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด ด้านคุณภาพวิเคราะห์และปริมาณ รวมทั้งแหล่งผลิตยาเสพติดและสารพิษจากอาหาร เครื่องดื่ม จากวัตถุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย
  6. งานตรวจชีววิทยาและดีเอ็นเอ มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน วัตถุพยานต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลักการทางชีววิทยา ไม่ว่าจะเป็นตรวจคราบโลหิต คราบอสุจิ ตรวจเปรียบเทียบเส้นผม-ขน รวมถึงตรวจสารพันธุกรรม (DNA)เพื่อเป็นการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล
  7. งานตรวจลายนิ้วมือแฝง ทำหน้าที่ตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมือฝ่ามือฝ่าเท้าแฝงกับผู้ต้องสงสัย ตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงกับสารลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ และสนับสนุนการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล
  8. งานตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์ข้อมูลดิจิตอลที่บันทึกในหน่วยบันทึกข้อมูล หรือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การตัดต่อสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ เปรียบเทียบร่องรอยบนแผ่นซีดี อีกทั้งยังจัดทำรายงานการตรวจพิสูจน์ รับ-ส่งของกลาง เก็บรักษาของกลางและทำสำเนารายงาน

อยากเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานต้องทำยังไง

ขั้นแรกเราต้องเตรียมความพร้อมในการสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ทั้งการเตรียมตัวศึกษารายละเอียดการสมัครและข้อสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการเปิดรับสมัครสอบตำรวจมีทั้งตำรวจพิสูจน์หลักฐานชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรจะมีการสอบทั้งข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

การสอบเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานรอบแรก

การสอบรอบแรกจะเป็นการสอบข้อเขียน ซึ่งจะเป็นข้อสอบแบบปรนัย แบ่งการทดสอบความรู้ความสามารถและแยกตามสายสอบ ถ้าเลือกสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานเคมีจะต้องสอบความรู้เกี่ยวกับสาขาเคมี หากเลือกสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานฟิสิกส์จะต้องสอบความรู้เกี่ยวกับสาขาฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์และตํารวจพิสูจน์หลักฐานข้อสอบวิชาทั่วไป ได้แก่

  • วิชาความสามารถทั่วไป
  • วิชาภาษาไทย
  • วิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
  • วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • วิชาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเห็นตัวอย่างแนวข้อสอบ สามารถกดดูตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อทดลองทำข้อสอบฟรี ๆ ได้ที่ แนวข้อสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

การสอบเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐานรอบที่สอง

การสอบรอบที่สองเป็นการทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายและทดสอบสุขภาพจิต การสอบสัมภาษณ์รวมถึงการตรวจสอบคุณสมบัติ ประวัติและความประพฤติด้วย ซึ่งจะเห็นว่าเราต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมให้ดี เพราะการสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐานจัดว่าเป็นสายที่มีการแข่งขันสูง มีให้เลือกสอบไม่ว่าจะเป็นตำรวจสายอำนวยการพิสูจน์หลักฐาน ตำรวจพิสูจน์หลักฐานเคมี ฟิสิกส์ ทำให้เราต้องอ่านหนังสือสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ฝึกทำแนวข้อสอบอยู่เสมอ เตรียมพร้อมสำหรับลงสนามสอบ

อยากเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐาน วุฒิเท่านี้เป็นได้ไหม

บุคคลที่จะสมัครสอบตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานได้จะต้องผ่านเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์
  • สำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติปริญญาบัตรจากสภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก่อนสมัคร

โดยวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์มีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่สามารถสมัครได้นั้น ได้แก่ สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ และสาขาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครจะต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้รับรองไว้แล้ว

เงินเดือนของตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

เงินเดือนตำรวจสายพิสูจน์หลักฐานในตอนเริ่มต้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • สอบติดแล้วติดยศทันที (ป.1 ชั้น 13.5) ได้รับเงินเดือนเริ่มต้น 8,800 บาท
  • จบมาทำงาน (ประกอบด้วยฐานเงินเดือน 8,800 บาท ค่าครองชีพ 2,000 บาท และค่าเงินประจำตำแหน่งสาย สพฐ. 3,000 บาท) ได้รับเงินเดือนเริ่มต้น 13,800 บาท

นอกจากนี้เงินเดือนของตำรวจมีอัตราเงินเดือนตามระดับตำแหน่งและระดับชั้น ซึ่งมีเกณฑ์เงินเดือนข้าราชการตำรวจ สำหรับการพิจารณาลำดับขั้น ประเมินค่าตอบแทนการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามลำดับ โดยตำรวจสายพิสูจน์หลักฐานชั้นสัญญาบัตรสำหรับการบรรจุเข้ารับราชการจะได้รับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ โดยตำรวจชั้นสัญญาบัตรมีอัตราเงินเดือนตามลำดับชั้นเริ่มต้นที่ ตำแหน่งร้อยตำรวจตรี – ร้อยตำรวจเอก ระดับ ส.1 มีเงินเดือน ตั้งแต่ 6,470 ไปจนถึง 38,750 บาท และยังมีเงินค่าตำแหน่งเพิ่มเติม เช่น ตํารวจอํานวยการพิสูจน์หลักฐานสายงานเฉพาะหรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะจะมีค่าตอบแทนประจำตำแหน่งต่อเดือน

คุณสมบัติที่ดีของตำรวจพิสูจน์หลักฐานควรเป็นอย่างไร

หน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจพิสูจน์หลักฐานจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ พิสูจน์หลักฐาน ด้วยการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์ รับรอง จำแนก ชี้เฉพาะ จนถึงการตีความหมาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบสวนดำเนินคดีที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเป็นธรรม ทั้งนี้จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ทักษะสำคัญพื้นฐานในการทำงาน

ด้วยการปฏิบัติงานของตำรวจควรมีทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งทักษะพื้นฐานที่ควรมี ได้แก่ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การรู้จักเข้าสังคม มีความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร มีความเป็นผู้นำ มีความริเริ่มสิ่งใหม่ มีการพัฒนาตนเองแล้วยังหาความรู้รอบด้านอยู่เสมอ เป็นต้น

  • ทักษะด้านการสื่อสาร

เป็นทักษะที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงานอย่างมาก เนื่องจากจะต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หรือสอบถามข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ๆ ถ้าหากสื่อสารได้ดีก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงประเด็น การทำงานก็จะสำเร็จผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

  •  ทักษะการวางแผนและบริหารจัดการ

ก่อนเริ่มปฏิบัติงานควรมีการวางแผนการทำงานก่อน วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการที่ดี เมื่อถึงเวลาในการปฏิบัติงานก็จะมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ

  • ทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

โดยปกติแล้วการปฏิบัติงานพิสูจน์หลักฐานจะต้องมีการคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งแต่การตั้งข้อสงสัย การวิเคราะห์ พิจารณา สรุปผลได้อย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย

  • ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตำรวจพิสูจน์หลักฐานจะต้องมีความรอบรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานพิสูจน์หลักฐานได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อยากสอบติดตำรวจพิสูจน์หลักฐานชัวร์ เริ่มติวเลยตอนนี้

หากน้อง ๆ มีความฝันอยากที่จะเป็นตํารวจพิสูจน์หลักฐาน แต่ต้องการเสริมความมั่นใจก่อนการสอบเพื่อเป็นตำรวจพิสูจน์หลักฐาน ทาง GovEntrance Police เรายินดีช่วยเสริมความมั่นใจให้กับน้อง ๆ โดยอาจารย์ผู้สอนเชี่ยวชาญทุกวิชา มีประสบการณ์ตรง พร้อมติวให้ความรู้ทุกส่วนที่ต้องรู้รวมถึงแนวทางการสอบ สำหรับเตรียมสอบเข้าตํารวจพิสูจน์หลักฐานโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีแนวข้อสอบย้อนหลังถึง 10 ปี พร้อมคำแนะนำ สิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบทั้งหมด ไปจนถึงแนวทางสอบปฏิบัติหลังจากสอบผ่านข้อเขียนอีกด้วย

น้อง ๆ คนไหนที่สนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถกดอ่านได้ที่ ติวสอบตำรวจพิสูจน์หลักฐาน

GovEntrance Police ไม่เพียงแต่มีติวสอบตํารวจพิสูจน์หลักฐานเท่านั้น ทางสถาบันของเรามีติวสอบตำรวจครบถ้วนทั้ง สี่สายหลัก หากน้อง ๆ มีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ช่องทางติดต่อด้านล่างนี้เลย 

Top